top of page
Search
  • stephan723

เปิดหน้ากฎหมาย PDPA พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ใกล้จะครบกำหนดหนึ่งปีแล้ว สำหรับการเริ่มต้นบังคับใช้ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายที่ออกมารองรับความเท่าทันของยุคนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ เพื่อเป็นการป้องกัน บรรเทาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งสามารถบังคับได้ทั้งทางแพ่งและอาญา



PDPA พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ใช้กับใครบ้าง


เข้าตามหลักของกฎหมายทั่วไปเลย ตามหลักที่ว่า กฎหมายไม่เลือกใช้บังคับกับใครคนใดคนหนึ่ง กฎหมายฉบับนี้ก็เช่นกัน เพราะสามารถบังคับใช้กับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมไปถึงภาครัฐที่มีการนำข้อมูลของประชาชนไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการได้ข้อมูลจากความยินยอมของเราหรือไม่ก็ตาม เพราะหากเป็นกิจกรรมหรือการที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลจากเราก็ได้ ขอเพียงแค่ไม่นำข้อมูลนั้นไปใช้นอกกิจการของภาครัฐ ก็เป็นอันใช้ได้แล้ว


แต่หากเป็นภาคเอกชนแล้ว จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน ว่าเรายินยอมให้ใช้หรือนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าในทุกครั้งจะมีแบบฟอร์มให้เราเลือกให้ความยินยอมหรือไม่ให้ความยินยอมเสมอไป ดังนั้นจึงอาจมีการละเมิดการให้ความยินยอมข้อมูลได้ จึงมีการออกกฎหมายฉบับนี้มาเพื่อตีกรอบคำจำกัดความการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล บทกำหนดโทษและการเยียวยาความเสียหายของผู้ที่ถูกละเมิด เพื่อคุ้มครองและบรรเทาความเสียหายที่เราจะได้รับจากการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือที่เราไม่อนุญาต


จึงสรุปได้ว่า พ.ร.บ. นี้สามารถใช้ได้กับทุกคนรวมไปถึงการบังคับใช้กับภาครัฐผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บ รวบรวม ดำเนินการทางทะเบียนข้อมูลของเราด้วย เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง มาตรการทางกฎหมายที่ออกมาอย่างเท่าทันกระแสการใช้ชีวิตของทุกคนได้เป็นอย่างดี


บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA


อันเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้นำไปใช้ในทางที่เหมาะสม ซึ่งเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะปฏิเสธ หรือเปิดเผยข้อมูลสำคัญส่วนตัวนั้น ๆ และเพื่อเป็นการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งบทลงโทษของการฝ่าฝืน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะแบ่งได้ 3 ปะเภทดังนี้

  • ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

  • ความรับผิดทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • ความรับผิดทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท








7 views0 comments
bottom of page