top of page

BLOG 

Read the latest information regarding intellectual property, corporate services and more

Search

PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่เพิ่งคลอดออกมาใหม่ ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญของเราทุกคนให้ปลอดภัย ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่เพิ่งออกใช้บังคับอย่างเป็นทางการได้เพียง 1 ปีกว่า ๆ เป็นกฎหมายที่บัญญัติเพื่อรองรับการแอบอ้างหรือนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิด



แบ่งออกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน ทั้งหมวดแรกที่บัญญัติถึงคำจำกัดความต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.นี้ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร การคุ้มครองหมายถึงอะไร ใครมีหน้าที่คุ้มครอง ฯลฯ เพราะในปัจจุบันมีการจัดเก็บฐานข้อมูลส่วนตัวของประชาชนอยู่ตลอดเวลา ที่เห็นได้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการภาครัฐต่าง ๆ ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในช่วงนี้ เช่น โครงการสิทธิ์คนละครึ่ง โครงการเราชนะ เราเที่ยวด้วยกัน เป็นต้น เมื่อมีการกรอกข้อมูลส่วนตัวไปเพื่อการเข้าถึงสิทธิ์ สิทธิ์เหล่านี้นี่เองที่จะเปิดเผยข้อมูลให้กับภาครัฐ ดังนั้นจึงมีการออกมาตรการกำหนดการจัดเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูล และการทำลายข้อมูลไว้ในหมวดต่าง ๆ ตามบทบัญญัติของกฎหมายนี้


พ.ร.บ. นี้ ดีอย่างไร


แม้ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งออกมาก็ตาม แต่ถือว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาตอบรับกระแสความทันสมัยในการให้ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ผ่านสื่อโซเซียลหรือช่องทางอื่น ๆ บนโลกออนไลน์ เพื่อป้องกันไม่ให้นำข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น


จุดที่น่าสนใจอย่างยิ่งของ พ.ร.บ. นี้ คือ การบัญญัติไว้อย่างชัดเจนถึงความรับผิดทางแพ่ง ที่หมายถึงการชดใช้ค่าเสียหาย หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล


พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงตอบทุกความต้องการของการรักษาข้อมูลส่วนตัวได้ดีที่สุด เซฟข้อมูล รักษาความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นพยายามลงมือขโมยข้อมูล เป็นการคลอดกฎหมายใหม่ที่โดนใจคนทันสมัยได้ดีที่สุด ที่สำคัญยังสามารถจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ๆ ในการทำธุรกิจ ข้อมูลทางตัวเลข การเงิน และอื่น ๆ คุ้มครองทั้งบุคคลและนิติบุคคลได้ในเวลาเดียวกัน








21 views0 comments

ใกล้จะครบกำหนดหนึ่งปีแล้ว สำหรับการเริ่มต้นบังคับใช้ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายที่ออกมารองรับความเท่าทันของยุคนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ เพื่อเป็นการป้องกัน บรรเทาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งสามารถบังคับได้ทั้งทางแพ่งและอาญา



PDPA พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ใช้กับใครบ้าง


เข้าตามหลักของกฎหมายทั่วไปเลย ตามหลักที่ว่า กฎหมายไม่เลือกใช้บังคับกับใครคนใดคนหนึ่ง กฎหมายฉบับนี้ก็เช่นกัน เพราะสามารถบังคับใช้กับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมไปถึงภาครัฐที่มีการนำข้อมูลของประชาชนไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการได้ข้อมูลจากความยินยอมของเราหรือไม่ก็ตาม เพราะหากเป็นกิจกรรมหรือการที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลจากเราก็ได้ ขอเพียงแค่ไม่นำข้อมูลนั้นไปใช้นอกกิจการของภาครัฐ ก็เป็นอันใช้ได้แล้ว


แต่หากเป็นภาคเอกชนแล้ว จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน ว่าเรายินยอมให้ใช้หรือนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าในทุกครั้งจะมีแบบฟอร์มให้เราเลือกให้ความยินยอมหรือไม่ให้ความยินยอมเสมอไป ดังนั้นจึงอาจมีการละเมิดการให้ความยินยอมข้อมูลได้ จึงมีการออกกฎหมายฉบับนี้มาเพื่อตีกรอบคำจำกัดความการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล บทกำหนดโทษและการเยียวยาความเสียหายของผู้ที่ถูกละเมิด เพื่อคุ้มครองและบรรเทาความเสียหายที่เราจะได้รับจากการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือที่เราไม่อนุญาต


จึงสรุปได้ว่า พ.ร.บ. นี้สามารถใช้ได้กับทุกคนรวมไปถึงการบังคับใช้กับภาครัฐผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บ รวบรวม ดำเนินการทางทะเบียนข้อมูลของเราด้วย เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมอย่างกว้างขวาง มาตรการทางกฎหมายที่ออกมาอย่างเท่าทันกระแสการใช้ชีวิตของทุกคนได้เป็นอย่างดี


บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA


อันเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้นำไปใช้ในทางที่เหมาะสม ซึ่งเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะปฏิเสธ หรือเปิดเผยข้อมูลสำคัญส่วนตัวนั้น ๆ และเพื่อเป็นการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งบทลงโทษของการฝ่าฝืน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะแบ่งได้ 3 ปะเภทดังนี้

  • ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

  • ความรับผิดทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • ความรับผิดทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท








7 views0 comments

เพราะในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทำอะไรก็ย่อมจะต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ง่ายขึ้นด้วยขั้นตอนของอินเตอร์เน็ต และระบบปฏิบัติการ จึงทำให้การใช้งาน “ข้อมูลส่วนบุคคล” เป็นไปอย่างกว้างขวาง เมื่อใช้ง่าย ก็เกิดการ “ขโมย” ได้ง่ายเช่นกัน



เพราะอะไร?


ก็เพราะเมื่อเรานำข้อมูลส่วนตัวใส่ลงในช่องทางต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เช่น การสมัครใช้งาน เฟซบุ๊ก ไอจี ติ๊กต็อก หรือที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานอย่าง

คลับเฮาส์ ก็ย่อมต้องมีการแนะนำตัว เพื่อล็อคอิน ลงทะเบียนสมัครใช้งาน เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนของเรา ไม่ว่าจะทั้งการกรอกชื่อ สกุล อายุ อาชีพ เพศ เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ที่ติดต่อได้ อีเมล์ อื่น ๆ เหล่านี้สามารถนำไปประมวลผลเพื่อประกอบกันเพื่อให้รู้ว่าคุณเป็นใครได้แล้ว


และเมื่อรู้ว่าคุณเป็นใครแล้ว จะเกิดผลอย่างไร?


เมื่อรู้ว่าคุณเป็นใคร จากการประมวลผลข้อมูลส่วนตัวนั้น ก็สามารถนำไปประกอบการทำสิ่งใด ๆ ให้คนอื่น ๆ คิดว่าเป็นคุณที่เป็นผู้ลงมือทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครสินเชื่อ สมัครใช้บริการต่าง ๆ และให้เรียกเก็บค่าใช้บริการจากบัญชีธนาคารของคุณ หรือบัญชีบัตรเครดิตของคุณ และนั่นคือผลเสียที่ตามมา


ครั้นจะปฏิเสธว่าไม่ใช่คุณเป็นผู้กระทำการก็เห็นทีว่าจะยาก นอกจากจะสืบให้เห็นอย่างชัดเจนได้ว่า คุณถูกล้วงหรือขโมยข้อมูลไป ไม่เช่นนั้น คุณก็ต้องรับผิดในความเสียหายต่าง ๆ นั้นเอง เพราะในเบื้องต้นการที่เราจะอ้างว่าไม่ใช่ตัวเราที่สมัครใช้บริการนั้น ๆ ก็ตาม แต่เมื่อเกิดความเสียหายแก่บุคคลที่สามแล้ว ก็ย่อมไม่อาจอ้างได้โดยตรง จะต้องมาพิจารณากันอีกว่า คุณมีส่วนประมาทหรือเลินเล่อในการไม่ปกปิดข้อมูลด้วยหรือไม่ อย่างไร


ดังนั้นการปกปิดข้อมูล ด้วยการออกกฎเกณฑ์มาใช้บังคับในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงเป็นเครื่องมือกำจัดไม่ให้ใครมาละเมิดได้ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบันนั้น เข้าถึงง่ายกว่าในอดีต และเกิดความเสียหายได้ง่ายกว่า การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคออนไลน์ได้อย่างดีที่สุด




4 views0 comments
bottom of page