การจดทะเบียนสิทธิบัตร
เพื่อเป็นการปกป้องสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบของคุณผ่านการจดทะเบียนสิทธิบัตร เราให้ความช่วยเหลือลูกค้าในประเทศไทยและทั่วโลกด้วยกระบวนการและขั้นตอนทั้งที่ไม่ซับซ้อน
ประเภทของสิทธิบัตร ข้อกำหนด และระยะเวลา
พระราชบัญญัติสิทธิบัตรของไทยรับรองสิทธิบัตร 3 ประเภท:
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
จะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้น หรือสร้างขึ้นมาใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้
มีระยะเวลา 20 ปี
อนุสิทธิบัตร
มีความคล้ายคลึงกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ยกเว้นว่าไม่จำเป็นต้องแสดงถึงนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมา
มีระยะเวลา 10 ปี
ประเภทของสิทธิบัตร
ข้อกำหนด
ระยะเวลา (ไม่สามารถต่ออายุ)
สิทธิบัตรการออกแบบ
จำเป็นต้องเป็นการออกแบบใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้
มีระยะเวลา 10 ปี
การจดทะเบียนสิทธิบัตรในไทย
ข้อกำหนดการยื่นขอสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร:
-
ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, ประเทศที่สมัคร
-
ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, สัญชาติของผู้ประดิษฐ์
-
วันที่, ลำดับหมายเลข, ลำดับการขอของแต่ละประเทศ (ถ้ามี)
-
คำอธิบายการประดิษฐ์, การเรียกร้องและภาพวาด (เป็นภาษาอังกฤษและแปลเป็นภาษาไทย)
-
หนังสือมอบอำนาจ
-
ใบรับรองเอกสารลำดับความสำคัญ (ถ้ามี)
-
คำชี้แจงสิทธิ์ในการขอรับสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตรในประเทศไทย (กรณีผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา)
ข้อกำหนดการยื่นขอสิทธิบัตรการออกแบบ:
-
ชื่อ – นามสกุล, ที่อยู่ของประเทศที่สมัคร
-
ชื่อ – นามสกุล, ที่อยู่, สัญชาติของผู้ออกแบบ
-
วันที่, ลำดับหมายเลข, ลำดับการขอของแต่ละประเทศ (ถ้ามี)
-
ภาพวาดจำลอง 7 มุมมอง (ด้านหน้า / ด้านหลัง / ด้านขวา / ด้านซ้าย / ด้านล่าง / ด้านบน / ภาพวาดแบบมุมลึก)
-
หนังสือมอบอำนาจ
-
ใบรับรองเอกสารลำดับความสำคัญ (ถ้ามี)
ขั้นตอนการจดทะเบียน.
สิทธิบัตรการประดิษฐ์: ระยะเวลาการจดทะเบียนโดยประมาณ 3 – 5 ปี
การยื่นคำร้อง
การพิจารณาตรวจสอบชั่วคราว
การเผยแพร่สิทธิบัตร
คำร้องสำหรับการพิจารณาตรวจสอบ
การตรวจค้นเอกสาร
ออกสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร: ระยะเวลาการจดทะเบียนโดยประมาณ 1 – 3 ปี
การยื่นคำร้อง
การตรวจสอบพิธีการ
การเผยแพร่
อนุสิทธิบัตร
ออก
อนุสิทธิบัตร
สิทธิบัตรการออกแบบ: ระยะเวลาการจดทะเบียนโดยประมาณ 1 – 2 ปี
การยื่นคำร้อง
การตรวจสอบพิธีการ
การเผยแพร่สิทธิบัตรการออกแบบ
คำร้องสำหรับการพิจารณาการตรวจสอบ
ออกสิทธิบัตรการออกแบบ
หมายเหตุ* ระยะเวลาของการขอจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากขอบเขตของแต่ละสิทธิบัตรแต่ละประเภท / ความยากง่ายในการขอของแต่ละประเภทสิทธิบัตร และการแก้ไขการปฏิเสธ หรือการอุทธรณ์ที่เป็นไปได้
การจดทะเบียนสิทธิบัตรทั่วโลก
ภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Coordination Treaty: PCT) สามารถยื่นคำขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยหรือสำนักงานระหว่างประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเพื่อขอความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศไทยและประเทศภาคีผู้ทำสัญญา PCT